เชิญชวนเที่ยว ตลาด 100 ปี อ่างศิลา !!! วันที่ 28 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2555
โดยการจัดงานในครั้งนี้ทางเทศบาลเมืองอ่างศิลาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้ชื่องานในครั้งนี้ว่า ตลาดเก่าอ่างศิลา 2419
“ เปิดตำนานตลาดเก่าอ่างศิลา ... ตระการตาสีสันตะวันออก “ กำหนดการเปิดงาน ณ ตลาดเก่าอ่างศิลา (ตึกแดง) โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดเก่าอ่างศิลา
อ่างศิลา ถือเป็นที่เที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี อ่างศิลามีชื่อเสียงเรื่อง ครกหินมาอย่างยานานและมีคุณภาพดี รูปหินแกะสลัก อาหารทะเลสด ๆ จากท่า อ่างศิลามีแนวถนนที่ติดกับชายทะเลยาวตลอดแนวหลายกิโลเมตร ซึ่งตลอดแนวมีร้านอาหารอร่อย ๆ จำนวนมากยาวไปจนเกือบถึง เขาสามมุก หรือชายหาดบางแสนอันเรื่องชื่อ อาทิเช่น ร้านมุกประมง (รีวิวจาก Pantip : http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2011/03/D10389522/D10389522.html โดยคุณ OKEOKE ) ร้านเจ๊อ่วย (รีวิวจาก Pantip : http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2011/09/D11020105/D11020105.html โดยคุณนายสะอาดกับคุณหมูกะปิ) มงคลฟาร์ม (รีวิวจาก เว็บ thailandholidayclub.com : http://www.thailandholidayclub.com/index.php?topic=40.0 โดยลุงเด้งชวนชิม) และอีกมากมายให้ท่าได้เลือกลิ้มชิมของสด ๆ จากทะเลกันเลยทีเดียว เมื่อเห็นรีวิวจากหลาย ๆ ท่านโดย Linkที่แนบมาให้ชมเพื่อเรียกน้ำย่อยกันก่อนออกเดินทางได้เลยคร๊าบ
มาดูข้อมูลพื้นฐานและตำนานของอ่างศิลากันก่อน อ่างศิลา เป็นตำบลหนึ่งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันดี เนื่องจากมีร้านอาหารทะเลให้เลือกหลากหลายตลอดเส้นทางทางหลวงแผ่นดิน 3134 ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ตรงตำบลเสม็ด อ่างศิลา ไปจนถึงเขาสามมุข รวมระยะทาง 9.12 กิโลเมตร อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมงภู่ และเป็นแหล่งทำครกหินอันขึ้นชื่อ แต่เดิมนั้นชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งอพยพเข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำหินเนื้อละเอียดที่มีอยู่มากมายแถบอ่างศิลามาแกะสลักเป็นลูกนิมิตร จากนั้นก็แกะเป็นครกบ้าง โม่หินบ้าง ตุ๊กตาแต่งสวนบ้าง อ่างศิลาในปัจจุบัน คนพื้นที่ดั้งเดิมเรียกกันว่า "อ่างหิน" สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวตะวันตกและคนบางกอก มาพักตากอากาศกันมาก ชื่ออ่างหินก็เริ่มเปลี่ยนแปลงให้ดูเป็นสากลมากขึ้น โดยมีหลักฐานบันทึกถึงชื่อ "อ่างศิลา" ดังนี้... เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี ได้ประทับแรมที่อ่างศิลา โดยมีลายพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2419 พรรณนาอ่างศิลา ตอนหนึ่งว่า "...เรียกชื่อว่าอ่างศิลานั้น เพราะมีแผ่นดินสูงเป็นลูกเนิน มีศิลาก้อนใหญ่ๆ เป็นศิลาดาด และเป็นสระยาวรี อยู่ 2 แห่งๆหนึ่งลึก 7 ศอก กว้าง 7 ศอก ยาว 10 วา แห่งหนึ่งลึก 6 ศอก กว้าง 1 วา 2 ศอก ยาว 7 วา เป็นที่ขังน้ำฝน น้ำฝนไม่รั่วซึมไปได้ ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบตี เห็นว่าเป็นประโยชน์กับคนทั้งปวงจึงให้หลวงฤทธิ์ศักดิ์ชลเขตร ปลัดเมืองชลบุรี เป็นนายงานก่อเสริมปากบ่อกั้นน้ำ มิให้น้ำที่โสโครกกลับลงไปในบ่อได้ ราษฎร ชาวบ้านและชาวเรือไปมาได้อาศัยใช้น้ำฝนในอ่างศิลานั้น บางปีถ้าฝนตกมาก ถ้าใช้น้ำแต่ลำพังชาวบ้านก็ได้ใช้น้ำทั้งสองแห่งและบ่ออื่นๆ บ้างพอตลอดปีไปได้ บางปีฝนน้อย ราษฎรได้อาศัยใช้แต่เพียง 5 เดือน 6 เดือน ก็พอหมดน้ำในอ่างศิลา แต่น้ำในบ่อแห่งอื่นๆ ที่ราษฎรขุดขังน้ำฝนไว้ใช้นั้น มีอยู่หลายแห่งหลายตำบล ถึงน้ำในอ่างศิลา สองตำบลนี้แห้งไปหมดแล้วราษฎรก็ใช้น้ำบ่อแห่งอื่นๆ ได้จึงได้เรียกว่า "บ้านอ่างศิลา" มาจนถึงทุกวันนี้" ปัจจุบันอ่างศิลาจึงเป็นแหล่งซื้อหาของฝาก ของที่ระลึก ของใช้ ของตกแต่งบ้าน อาหารพื้นเมือง อาหารทะเลสดและอาหารทะเลแปรรูป อ่างศิลาเป็นหมู่บ้านชายทะเล ชาวชุมชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพตามทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น อาชีพประมงจับสัตว์ทะเล การแปรรูปอาหารทะเล การเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่เป็นจำนวนมาก จึงเกิดอาชีพรับจ้างแกะเนื้อหอย ค่าจ้างตามผลงานจึงจูงใจลูกจ้างให้ขยัน อาศัยการฝึกฝนทำบ่อย ๆ จึงเกิดความชำนาญ วันหนึ่ง ๆ สามารถแกะหอยได้หลาย ๆ กิโลกรัม หอยนางรมจำนวนมากนี้มีมากพอสำหรับขายในท้องที่และยังส่งขายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ด้วย สำหรับตลาดอ่างศิลาเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2419 จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 136 ปีแล้ว เทศบาลตำบลอ่างศิลา และชุมชนชาวอ่างศิลา ได้ร่วมกันพัฒนาตลาดอ่างศิลา เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี ภายใต้ชื่อโครงการ ตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี โดยเริ่มเปิดตลาดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 และเปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุด ตั้งแต่เวลา 10.00 - 18.00 น. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นมา และได้ซบลงในช่วงระยะหนึ่ง แต่ในปัจจุปันทางเทศบาลตำบลอ่างศิลาได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชนจึงได้ให้การสนับสนุนแบบยั่งยืนเพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี ภายใต้ชื่อโครงการ ตลาดเก่าอ่างศิลา 2419
สถานที่จอดรถ เพื่อเดินชมตลาดเก่าอ่างศิลา 3 แห่ง คือ - บริเวณตลาดสะพานปลาอ่างศิลา - โรงเรียนชลราษฎรอำรุง 2 - วัดอ่างศิลา สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ตลาดเก่าอ่างศิลา พระตำหนักมหาราช พระตำหนักราชินี เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "อิทธิพลทางตะวันตกแบบเมืองขึ้น" ตึกทั้งสองหลังนี้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ในระหว่างที่ทรงสำเร็จราชการแทน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จประพาสยุโรป พระราชทานนามตึกหลังใหญ่ว่า "ตึกมหาราช" ตึกหลังเล็กว่า "ตึกราชินี" กรมศิลปากรได้ประกาศให้ตึกทั้งสองหลังขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539
วัดอ่างศิลา เดิมชื่อ "วัดนอก" ตั้งอยู่ใกล้กับ "วัดใน" ภายหลังรวมกันเป็น วัดอ่างศิลา พระอุโบสถของวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2243 อายุกว่า 300 ปี ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ ยังมีหมู่เจดีย์ 3 องค์ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอีกด้วย ปัจจุบันวัดอ่างศิลาเป็นที่รู้จักของนักสะสมพระปิดตา และหลวงปู่หิน ซึ่งเป็นที่สักการะและนับถือของชาวอ่างศิลา สะพานปลาอ่างศิลา เดิมเรียกว่า "สะพานหิน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาดีกรมท่าสร้างสะพานหินให้ยาวออกไปในทะเลจนพ้นเขตศิลาใต้น้ำ ปัจจุบันเป็นท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลา มีสินค้าท้องถิ่นและอาหารทะเลจำหน่ายหลากชนิด
ฟาร์มหอย มีการเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลองภู่ ฟาร์มหอยนางรม เป็นหอยนางรมปากจีบ เลี้ยงแบบพวงอุบะแขวน โดยแขวนใต้นั่งร้านไม้ไผ่ ส่วนฟาร์มหอยแมลงภู่ เลี้ยงแบบปักหลักลงใต้น้ำทะเล จุดแวะชมค้างคาว ป่าโกงกาง เป็นป่าชายเลนตามแนวชายฝั่ง มีค้างคาวแม่ไก่ อาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนบริเวณป่าโกงกางเป็นจำนวนมาก ศาลเจ้าหน่าจาไท้จื้อ อยู่ระหว่างทางจากตลาดอ่างศิลา ไปเขาสามมุข สร้างขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 เดิมสร้างเป็นศาลเจ้าขนาดเล็ก บนเนื้อที่ 200 ตารางวา เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2541 สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ 7 องค์ และประทานนามศาลเจ้าแห่งนี้ว่า "วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม" โดยมีการขยายอาคารและเนื้อที่ รวม 25 ไร่ ท่านที่มาเที่ยวสามารถไปนมัสการขอพรได้ที่ "ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ" ชมความงามถึงสถาปัตยกรรมประเพณีจีน รายละเอียด http://www.najathai.net
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ย้อนกลับ